วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

THE ILLUSTRATED A BRIEF HISTORY OF TIME


ประวัติย่อของกาลเวลา

ภาพเอกภพของเรา

                ครั้งหนึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง (บางคนกล่าวว่าเป็น เบอร์แทรนด์รัชเซล (Bertrannd Russell))ได้บรรยายเรื่องดาราศาสตร์ให้สาธารณชนฟัง เขาบรรยายว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์อย่างไร ในขณะที่ดวงอาทิตย์ก็โคจรไปรอบๆ ศูนย์กลางของหมู่ดวงดาวมากมายนับล้านที่เราเรียกกันว่ากาแลกซี่ของเรา ในขณะตอนจบการบรรยาย หญิงชราตัวเล็กๆ ผู้หนึ่งที่นั่งทางด้านหลังของห้องได้ลุกขึ้นกล่าวว่า “ที่เจ้ามานั้นเป็นเรื่องไร้สาระ โลกของเราจริงๆ แล้วเป็นแผ่นเรียบที่อยู่บนหลังของยักษ์นี่มันยืนอยู่บนหลังของเต่ายักษ์ต่างหาก” นักวิทยาศาสตร์ท่านนั้นยิ้มอย่างมีชัยแล้วกล่าวตอบว่า “แล้วเจ้าเต่ายักษ์นี่มันยืนอยู่บนอะไรล่ะ? “ หญิงชราก็กล่าวว่า “เจ้าหนุ่ม เจ้าเป็นคนฉลาดที่ฉลาดมาก ฉลาดมากจริงๆ คำตอบก็คือมันเป็นเต่าที่ยืนต่อเนื่องกันไปจนสุดนั่นแหล่ะ!

                คนส่วนใหญ่จะคิดว่าภาพของเอกภพของเราที่เป็นหอคอยของเต่าหลายๆ ตัวยืนต่อกันไปเป็นความคิดที่ไร้สาระ แต่แล้วเรารู้ได้อย่างไรล่ะว่าเรารู้ดีไปกว่านั้น เรารู้อะไรเกี่ยวกับเอกภพบ้าง และเรารู้มันได้อย่างไร เอกภพของเรามาจากไหน และมันจะมุ่งไปสู่อะไร เอกภพมีจุดเริ่มต้นหรือไม่ และถ้ามี เกิดอะไรก่อนนั้น? ธรรมชาติของเวลาคืออะไร มีจุดสิ้นสุดหรือไม่ เราสามารถย้อนกลับไปในเวลาได้หรือไม่ พัฒนาการใหม่ๆในวิชาฟิสิกส์ซึ่งบางส่วนเกิดมาจากเทคโนโลยีล้ำยุคได้ชี้แนะถึงคำตอบของคำถามที่มีมานานเหล่านี้บางคำถาม บางทีสักวันในอนาคต คำตอบเหล่านี้จะกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเหมือนกับการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ หรือบางทีอาจกลายเป็นสิ่งทีไร้สาระเหมือนกันภาพคอหอยของเต่าทั้งหลาย เวลา (ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตาม) เท่านั้นที่เป็นตัวตัดสิน

                ย้อนไปนานถึงสมัย 340 ปีก่อนคริสตกาล นักปราชญ์ชาวกรีก อริสโตเติล (Aris-totle) ได้ให้เหตุผลที่น่าฟังไว้สองประการไว้ในหนังสือ On the Heavens (ว่าด้วยสรวงสรรค์) ในการสนับสนุนความเชื่อที่ว่าโลกน่าจะเป็นทรงกลมมากว่าที่จะเป็นแผ่นราบเรียบ ประการแรก เขาสำนึกได้ว่าจันทรุปราคา (moon eclipses) เกิดจากการที่โลกเข้าไปอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เงาของโลกบนดวงจันทร์จะมีรูปร่างกลมเสมอ ซึ่งจะเป็นจริงได้ก็ต่อเมื่อโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลมเท่านั้น ถ้าโลกเป็นแผ่นกลมแบน เงาจะต้องมีรูปร่างเป็นวงรีที่ยืดยาว นอกเสียจากว่าจันทรุปราคาจะต้องเกิดเวลาที่ดวงอาทิตย์มาอยู่ตรงศูนย์กลางของแผ่นกลมพอดีเท่านั้น ประการที่สอง ชาวกรีกทราบดีว่าจากการเดินทางไปที่ต่างๆ ว่าดาวเหนือ (North Star) ปรากฏต่ำบนท้องฟ้าเมื่อมองจากบริเวณทางใต้มากกว่าเมื่อมองจากบริเวณทางเหนือ (เนื่องเพราะดาวเหนืออยู่เหนือขั้วโลกเหนือ มันจะปรากฏอยู่เหนือศีรษะผู้สังเกตที่ขั้วโลกเหนือพอดี แต่สำหรับคนที่อยู่ที่เส้นศูนย์สูตร มันจะปรากฏอยู่ที่ขอบฟ้าพอดี)

                จากความแตกต่างระหว่างตำแหน่งปรากฏของดาวเหนือในอียิปต์และในกรีซ อลิส โตเติล ได้ประมาณไว้ว่าระยะทางรอบโลกมีค่าประการ 400,000 สเตเดีย (1 สเตเดียคือความยาวของ 1 สเตเดียม หรือ 1 สนามกีฬา ) ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความยาว 1 สเตเดียมมีค่าเท่าใด แต่มันอาจจะประมาณได้เป็น 200 หลา ซึ่งจะทำให้การประมาณของ อลิส โตเติล มีค่าเป็นประมาณสองเท่าของค่าที่ยอมรับกันในปัจจุบัน ชาวกรีกยังมีเหตุผลหลายประการที่สามในการเชื่อว่าโลกต้องกลม มิเช่นนั้นทำไมเราจึงเห็นใบเรือปรากฏขึ้นมาก่อนจากขอบฟ้าแล้วจึงมองเห็นตัวเรือในภายหลังได้เล่า ?

                อลิส โตเติล นั้นคิดว่าโลกอยู่นิ่ง ส่วนดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ต่างๆ และดาวฤกษ์ทั้งหลายต่างเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบโลก เขาเชื่อเช่นนี้เพราะเขารู้สึกว่ามันควรจะเป็นเช่นนั้น ด้วยเหตุผลอันลึกลับนานาหลักการว่าโลกเป็นศูนย์กลางของเอกภพ และที่ว่าวงโคจรที่เป็นวงกลมมีความสมบูรณ์ที่สุด แนวคิดนี้ได้รับการบรรยายเพิ่มเติมในรายละเอียดอีกย่อยโดยพโตเลมี (Ptolemy) เมื่อศตวรรษที่2ของคริสต์ศักราชจนกลายเป็นแบบจำลองทางเอกภพที่สมบูรณ์ โดยอยู่เป็นศูนย์กลางล้อมรอบไปด้วยทรงกลมแปดอันที่มีดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ห้าดวงที่รู้จักกันในเวลานั้น ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส และดาวเสาร์ เคลื่อนที่อยู่ภายในตัวดาวเคราะห์เองนั้นเคลื่อนที่เป็นวงกลมเล็กๆ เทียบกับทรงกลมท้องฟ้าแต่ละอันอีกทีเพื่ออธิบายทางเดินที่ข้อนข้างซับซ้อนของมันที่ปรากฏบนท้องฟ้า ทรงกลมท้องฟ้าที่อยู่นอกสุด มีสิ่งที่เรียกว่าดาวประจำตำแหน่งภายใน โดยพวกมันจะอยู่ที่ตำแหน่งเดิมสัมพัทธ์กันและกัน แต่จะหมุนไปพร้อมๆกันบนท้องฟ้า สิ่งที่อยู่ไกลออกไปจากทรงกลมที่อยู่นอกสุดนั้นไม่ได้ถูกกล่าวถึงอย่างแน่ชัด แต่ที่แน่ๆก็คือว่ามันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเอกภพที่มองเห็นได้ของเรา

                แบบจำลองของพโตเลมี เป็นระบบที่แม่นยำใช้งานได้พอควรในการทำนายตำแหน่งของวัตถุต่างๆในสรวงสรรค์ หากแต่ในการทำนายตำแหน่งเหล่านี้ให้ได้ถูกต้อง พโตเลมีต้องตั้งสมมุติฐานหนึ่งประการว่าดวงจันทร์จะมีทางเดินที่บางครั้งจะมาอยู่ใกล้โลกมากที่สุดเป็นระยะครึ่งหนึ่งของปกติ และนั่นหมายความว่าดวงจันทร์ควรต้องปรากฏมีขนาดใหญ่เป็นสองเท่าของปกติด้วย ! พโตเลมีรู้ถึงข้อจำกัดนี้เป็นอย่างดี แต่กระนั้นแบบจำลองของเค้าก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แม้จะเป็นที่ยอมรับโดยสากลก็ตามมันถูกนำไปใช้โดยคริสต์ศาสนจักรในฐานะภาพของเอกภพที่สอดคล้องกับที่บรรยายไว้ในพระคัมภีร์ เนื่องเพราะมันมีที่ว่างที่อยู่ไกลออกไปกว่าทรงกลมท้องฟ้าของดาวประจำตำแหน่งไว้สำหรับสวรรค์และนรก

                อย่างไรก็ดีแบบจำลองที่เรียบง่ายกว่าก็ถูกเสนอในปี ค.ศ. 1514 โดยนักบวชชาวโปแลนด์นามว่า นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicholas Copernicus) (ในตอนแรกอาจเพราะความกลัวว่าจะถูกศาสนจักรตราหน้าว่าเป็นพวกนอกรีด โคเปอร์นิคัสจึงเสนอแบบจำนองนิรนาม) ความคิดของเค้าให้ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางอยู่กับที่โดยมีโลกและดาวเคราะห์อื่นๆเคลื่อนที่วนรอบเป็นรูปวงกลมเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปีกว่าที่แนวคิดนี้เริ่มเป็นที่สนใจอย่างจริงจัง เมื่อนักดาราศาสตร์สองคนคือ โยฮันส์ เคฟเลอร์ (Johannes Kepler) ชาวเยอรมันและกาลิเลโอ (Galileo Galilei) ชาวอิตาลีเริ่มสนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสอย่างเปิดเผย ทั้งๆที่ทางโคจรซึ่งทฤษฎีทำนายไว้ยังไม่สอดคล้องกับผลสังเกตการณ์อย่างสมบูรณ์ก็ตาม หมัดเด็ดที่น็อกทฤษฎีของ อลิส โตเติล และ พโตเลมี เกิดขึ้นในปี ค.ศ.1609 ในปีนั้นกาลิเลโอเริ่มสังเกตท้องฟ้าในเวลากลางคืนด้วยกล้องโทรทรรศน์ซึ่งพึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้น เมื่อเขามองไปที่ดาวพฤหัสกาลิเลโอพบว่ามีดวงจันทร์เล็กๆโคจรอยู่รอบๆนี่หมายถึงว่าทุกๆสิ่งไม่ได้จะต้องโคจรรอบโลกโดยตรงเสมอไปดังที่ อลิส โตเติล และ พโตเลมี ได้คิดไว้ (แน่นอนว่ามันยังคงเป็นไปได้หากจะคิดว่าโลกอยู่กับที่ที่สูงกลางของเอกภพและดวงจันทร์ต่างๆ ของดาวพฤหัสก็เคลื่อนที่ด้วยทางเดินอันสลับซับซ้อนสุดๆรอบๆโลกทำให้มันปรากฏเหมือนพื้นที่รอบดาวพฤหัสดังที่เห็นอย่างไรก็ตามทฤษฎีของ โคเปอร์นิคัส ก็เรียบง่ายกว่ามาก) ในขณะเดียวกัน โยฮันส์ เคปเลอร์ ก็ได้พัฒนาทฤษฎีของ โคเปอร์นิคัส โดยเสนอว่าดาวเคราะห์ไม่ได้โคจรเป็นวงกลมหากแต่เป็นวงรี (วงรีคือ วงกลมที่แกนหนึ่งถูกยืดออก) จนทำให้การทำนายต่างๆมีความสอดคล้องกับผลสังเกตการณ์ในที่สุด

                เคปเลอร์เสนอสมมุติฐานของวงรีขึ้นมาโดยตั้งใจให้เป็นข้อเสนอเฉพาะการณ์เท่านั้น และก็ค่อนข้างจะเป็นสมมุติฐานที่น่าเกลียดด้วยเพราะว่าวงรีนั้นดูงดงามน้อยกว่าวงกลม เมื่อได้ค้นพบโดยบังเอิญว่าวงโคจรรูปวงรีมีความสอดคล้องกับผลการสังเกตการณ์เป็นอย่างดี เขาก็ยังคงไม่สามารถนำไปผสมผสานกับความคิดของตน ว่าดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยแรงแม่เหล็กได้ คำอธิบายถูกเสนอหลายปีหลังจากนั้นปี ค.ศ. 1687 เมื่อ เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir. Isaac Newton) ปีพิมพ์หนังสือ Philo-sophiae Naturalis Principin Mathematica (“หลักการทางคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ”) ซึ่งถือว่าเป็นผลงานชชิ้นที่สำคัญที่สุดที่เคยตีพิมพ์ในประวัติศาสตร์ของการศึกษาวิทยาศาสตร์กายภาพทั้งหมดก็ว่าได้ ในหนังสือเล่มนี้ นิวตันไม่เพียงแต่เสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในอวกาศและเวลาเท่านั้น แต่เขายังได้พัฒนาคณิตศาสตร์อันซับซ้อนที่จำเป็นการวิเคราะห์การเคลื่อนที่เหล่านี้อีกด้วย ยิ่งไปกว่านี้นิวตันตั้งสมมุติฐานของกฎความโน้มถ่วงสากลที่ว่าวัตถุยิ่งมีมวลมาก และยิ่งอยู่ใกล้กัน แรงชนิดนี้เป็นตัวที่ทำให้วัตถุตกลงสู่พื้น (“เรื่องราวที่ว่านิวตันได้แรงบันดาลใจมาจากลูกแอปเปิ้ล”)ที่ตกใส่ศีรษะนั้นแทบจะเป็นที่แน่นอนว่าเป็นคำกล่าวอันเลื่อนลอย นิวตันเองได้กล่าวไว้เพียงว่าความคิดเกี่ยวกับความโน้มถ่วงนั้นเกิดขึ้นเมื่อเขานั่ง “อยู่ในฌานสมาธิ” และทำให้ดวงจันทร์เคลื่อนที่เป็นวงรีรอบดวงโลกและทำให้โลกและดาวเคราะห์ต่างๆ เคลื่อนที่เป็นวงโคจรรูปวงรีรอบดวงอาทิตย์

                แบบจำลองของโคเปอร์คัสละทิ้งทรงกลมท้องฟ้าของพโตเลมีไปพร้อมๆกับแนวคิดที่ว่าเอกภพมีขอบเขตโดยธรรมชาติของมัน เนื่องจากดาวประจำตำแหน่งต่างๆไม่ได้ปรากฏว่าเคลื่อนที่นอกเหนือไปทางการหมุนไปในท้องฟ้าเนื่องจากมาจากการหมุนรอบตัวเองของโลกรอบแกนของมัน มันจึงเป็นเรื่องธรรมชาติที่จะสมมุติให้ดาวเหล่านั้นเป็นวัตถุที่เหมือนๆกับดวงอาทิตย์ของเราเพียงแต่อยู่ห่างไกลออกไปมากๆ

                นิวตันทราบดีว่าตามทฤษฎีของเขาแล้ว ดวงดาวต่างๆมีการดึงดูดซึ่งกันและกัน มันจึงไม่ควรที่จะอยู่นิ่งโดยไม่เคลื่อนที่ได้ แล้วจะไม่ตกลงไปสู่จุดเดียวกันในอนาคตหรอกหรือ? ในปี ค.ศ. 1691 ที่เขียนถึง ริชาร์ด  เบนท์ลี่ย์  (Richard Bentley) ซึ่งนักคิดระดับแนวหน้าคนหนึ่งในยุคนั้น นิวตันวิเคราะห์ไว้ว่าการตกไปสู่จุดเดียวกันนี้จะเกิดขึ้นหากว่ามีดวงดาวจำนวนจำกัดกระจายอยู่ในอวกาศบริเวณจำกัด แต่เขาก็ทราบดีว่า หากมีดาวจำนวนมากมายอเนกอนันต์กระจายตัวเองสม่ำเสมออยู่ในอวกาศกว้างใหญ่ไพศาลที่เป็นอนันต์แล้ว สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น เพราะว่ามันจะไม่มีจุดศูนย์กลางให้ตกลงไป

                คำอธิบายนี้เป็นคำอธิบายที่ไม่ถูกต้องที่พบเห็นได้เมื่อเราพูดถึงจำนวนอนันต์ ในเอกภพที่เป็นอนันต์ ทุกๆจุดสามารถถือได้ว่าเป็นจุดศูนย์กลาง เนื่องเพราะทุกๆปีหลังจากนั้น ก็คือเราต้องพิจารณาสถานการณ์เดียวกันเมื่อประมาณต่างๆ จะเปลี่ยนไปอย่างไรหากเราเพิ่มดาวเข้าไปอย่างสม่ำเสมอในบริเวณรอบๆ ตามกฎของนิวตันแล้ว ดาวที่เพิ่มเข้าไปจะเกิดความแตกต่างโดยเฉลี่ยแต่อย่างใดกับระบบตั้งต้น ดังนั้นดวงดาวจะตกเข้าไปเหมือนเดิม เราสามารถเพิ่มดวงดาวเข้าไปเท่าไหร่ก็ได้ แต่พวกมันก็ยังคงจะยุบตัวตกลงเข้าหากันอยู่ดี ในปัจจุบันเราทราบดีว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะมีเอกภพที่อยู่นิ่งที่มีขนาดอนันต์ ที่ซึ่งความโน้มถ่วงจะเป็นแรงชนิดดึงดูด

ที่มา : ฮอว์กิ่ง,สตีเฟ่น
          ประวัติย่อของกาลเวลา ฉบับภาพประกอบ.กรุงเทพ:มติชน.2552.312 หน้า .ภาพประกอบ
1.จักรวาล 2.การกำหนดเวลา 3.ดาราศาสตร์ 4.ฟิสิกส์ 5.ปิยบุตร บุรีคำ,ผู้แปล 6.ดร.อรรถกฤต  ฉัตรภูมิ,ผู้แปล 7.ชื่อเรื่อง